การจัดความรู้องค์กร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

PULINET เป็นการจัดประชุมวิชาการเพื่อเป็นเวทีแบบเปิดกว้างสำหรับการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างบรรณารักษ์ นักเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ นักวิจัย และผู้สนใจด้านการจัดการและการบริการสารสนเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาห้องสมุดให้ดียิ่งขึ้น สำหรับในปี 2567 นี้ ผู้บริหารและบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 14 (The 14th PULINET Online National Conference – PULINET 2024) ระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม พ.ศ. 2567 จัดโดย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ภายใต้กรอบแนวคิด “Better Libraries: Honour Yesterday, Celebrate Today, Embrace Tomorrow”

ในการประชุมวิชาการได้มีการนำเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์และการนำเสนอผลงานโดยการบรรยาย ซึ่งผลงานทั้งหมดได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทำให้ผลงานวิชาการที่นำเสนอในการประชุมวิชาการมีความสมบูรณ์ และความน่าเชื่อถือ เป็นประโยชน์ในการพัฒนาวงการห้องสมุดและวิชาชีพ มีผู้เข้าร่วมส่งผลงานจำนวนทั้งสิ้น 105 ผลงาน แบบโปสเตอร์ 48 ผลงาน และแบบบรรยาย 57 ผลงาน
ดร.จันทรรัตน สิทธิสมจินต์ รองผู้อำนวยการฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพ และทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำทีมบุคลากรสำนักหอสมุดเข้าร่วมประชุมวิชาการ และนำเสนอผลงานจำนวนทั้งสิ้น 8 ผลงาน ประกอบด้วยการนำเสนอด้วยโปสเตอร์จำนวน 3 ผลงาน การนำเสนอด้วยวาจาจำนวน 5 ผลงาน ดังนี้

การนำเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ จำนวน 3 ผลงาน
1. การพัฒนา Chatbot AI ด้วยเครื่องมือ Dialogflow เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานด้านประชาสัมพันธ์และลูกค้าสัมพันธ์ โดย อัคริมา สุ่มมาตย์, นิติยา ศรีวรเดชไพศาล, ระพีพัฒน์ ปิยะนาจ, พีรณัฐ จันทรนิยม, วิศรุต คิละลาย, กานดา สายแก้ว ในหมวดการบริหารจัดการองค์กร (ORGANIZATION MANAGEMENT: OM)

2. การพัฒนาระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ดนย์บวรภัทร มีกุญชร, ภานุวัตร อุทัยบาล ในหมวดการบริหารจัดการองค์กร (ORGANIZATION MANAGEMENT: OM)

3. กลยุทธ์การสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าในการนำชมห้องสมุด (Library tour) ผ่าน Metaverse Exhibition โดย ธิดารัตน์ อภิญญานนท์*, นิติยา ศรีวรเดชไพศาล, อัคริมา สุ่มมาตย์, ยุพา ดวงพิมพ์, ณัฐอร เลี้ยวประเสริฐ ในหมวด การบริการสารสนเทศ (INFORMATION SERVICES: IS)

การนำเสนอผลงานในรูปแบบบรรยาย จำนวน 5 ผลงาน

  1. กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการส่งเสริมทักษะด้านการรู้ดิจิทัลของบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย สุดาวดี ชัยเดชทยากุล, สิริพร ทิวะสิงห์, ยุวดีเพชระ, เมธยา เสามะลี, สุพัชญ์ สีนะวัฒน์, จันทรรัตน สิทธิสมจินต์ ในหมวดการบริหารจัดการองค์กร (ORGANIZATION MANAGEMENT: OM)

2. กระบวนการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรสำนักหอสมุด โดยความร่วมมือกับกองการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย เยาวพร ศานติวิวัฒน์*, สิริพร ทิวะสิงห์,สุพัชญ์ สีนะวัฒน์, จันทรรัตน สิทธิสมจินต์ ในหมวดการบริหารจัดการองค์กร (ORGANIZATION MANAGEMENT: OM)

3. AI Clinic บริการเครื่องมือ Generative AI เพื่อสนับสนุนการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดย ณัฐอร เลี้ยวประเสริฐ*, ธิดารัตน์ อภิญญานนท์, ชาญชัย พานทองวิริยะกุล, เด่นพงษ์ สุดภักดี, สุพัชญ์ สีนะวัฒน์, กานดา สายแก้ว, ยศยาดา สิทธิวงษ์, ศิวะนัท ศรีสุนทร, วันชาติ ภูมี ในหมวด การบริการสารสนเทศ (INFORMATION SERVICES: IS)

4. การพัฒนาคลังข้อมูลและระบบนําทาง สําหรับหุ่นยนต์บรรณารักษ์เพื่อการต้อนรับและนําชม โดย ภานุวัตร อุทัยบาล, สิริพร ทิวะสิงห์ ในหมวด การบริการสารสนเทศ (INFORMATION SERVICES: IS)

5. ห้องสมุดกับการสนับสนุนการเรียนรู้ สําหรับผู้พิการทางสายตาในชุมชน ด้วยหนังสือเสียง โดย ประสิทธิ์ ประทุมรัตน์, สุพัชญ์ สีนะวัฒน์, ญาณปภา เรืองเชิงชุม, ฐิติรัชทน์ ปักกะทานัง, มุกดา ดวงพิมพ์,ยุพา ดวงพิมพ์, เพ็ญแข พั่วโพธิ์, ธีรยุทธ บาลชน, อุบล ใจตาง, ละอองดาว มาตวังแสง, สุวิมล คําชมภู ในหมวด การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (INFORMATION MANAGEMENT: IM)

ผลการประกวดการนำเสนอผลงานวิชาการปรากฏว่า ผลงานของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลจำนวน 1 รางวัลได้แก่
รางวัลระดับดีเด่น การนำเสนอผลงานวิชาการโดยโปสเตอร์ การบริหารองค์กร (OM : Organizational Management) ผลงานเรื่อง การป้องกันการโจมตีเว็บไซต์ด้วยระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยทางไซเบอร์มินิเซียม: กรณีศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ดนย์บวรภัทร มีกุญชร, ภานุวัตร อุทัยบาล