การจัดความรู้องค์กร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันนี้จะมาแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ทำวิจัยทุกท่าน ทำวิจัยได้สนุก ช่วยย่นระยะเวลาในการทำวิจัยให้สั้นลงได้ เครื่องมือนั้นคือ Sci Space นั้นเองงง ขั้นตอนการเข้าใช้งานง่ายแสนง่าย

  1. ไปที่ https://scispace.com/
  2. ล็อคอินเพื่อเข้าใช้งาน

นักวิจัยสามารถสืบค้นบทความผ่านหน้าเว็บของ Sci Space หากใช้งานนอกเขต มข. แนะนำให้ผู้ใช้ติดตั้ง และเชื่อมต่อ VPN KKU (https://vpn-portal.kku.ac.th/) ก่อนการสืบค้นบทความ รวมถึงผู้ใช้ยังสามารถอัพโหลดไฟล์บทความที่ดาวน์โหลดจากฐานข้อมูลออนไลน์เข้าไปด้วยตัวเองได้อีกด้วย เพื่อใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Copilot – Read with AI อ่านและพูดคุยกับบทความได้ และนอกจากนี้ยังสามารถใช้เมนูดังต่อไปนี้ (12 ก.ค. 66)  เพื่อช่วยในการทำวิจัย

1. Literature Review ; ช่วยให้การเขียน Literature review เร็วขึ้น เพียงแค่กรอกคำค้นที่ผู้วิจัยสนใจ Sci Space จะทำการสรุปบทความ 5 บทความแรก ที่ใกล้เคียงกับคำค้นมากที่สุด ซึ่งผู้วิจัยสามารถนำส่วนนี้ ไปต่อยอดในการเขียนต่อไปได้

2. Copilot – Read with AI ; เครื่องมือช่วยอ่านและพูดคุยบทความ โดยผู้วิจัยเป็นผู้อัพโหลดไฟล์บทความเข้าไป และพูดคุยกับบทความได้ โดยสามารถพูดคุยได้ทั้งการใช้ปุ่มคำถาม การพิมพ์คำถามเพิ่มเติมด้วยตนเอง และสามารถใช้เครื่องมือไฮไลท์ข้อความ เพื่อให้ Copilot สรุป หรืออธิบายเพิ่มเติมได้ด้วย

3. Citation generator ; เครื่องมือช่วยสร้างรูปแบบการอ้างอิง ผู้ใช้สามารถสร้างรูปแบบการอ้างอิงได้โดยนำลิงก์ของบทความนั้นๆ มาวาง คลิก cite และเลือกรูปแบบการอ้างอิงได้ เช่น APA, Vancouver เป็นต้น

4. Paraphraser ; เครื่องมือช่วยในการถอดความเพื่อให้บทความมีความลื่นไหล ลดความซ้ำซ้อนของการใช้คำ ช่วยเรียบเรียงประโยคให้สละสลวยมากขึ้น

5. Ai Detector ; เครื่องมือช่วยตรวจจับการใช้ AI ช่วยเขียนบทความ

ถึงแม้เครื่องมือข้างต้นจะช่วยให้การทำวิจัยสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่ตัวผู้วิจัยเองก็ยังต้องเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการทำด้วยตัวเองทั้งหมด ให้มอง Sci Space เป็นผู้ช่วยมือขวาของเรา ไม่ใช่ให้ผู้ช่วยมาทำแทนนะคะ