การจัดความรู้องค์กร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Web of Science

ฐานข้อมูล Web of Science (WOS) เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปที่เป็นเครื่องมือที่สำคัญอันหนึ่งสำหรับนักวิจัยที่ใช้ในการอ้างอิงรวมถึงใช้ในการประเมินคุณภาพวารสารสำหรับการอ้างอิงและการตีพิมพ์ เป็นฐานข้อมูลที่ได้รับความอนุเคราะห์จาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา (สป.อว.) มาเนิ่นนาน หลังจากที่ได้ยกเลิกการบอกรับไปเมื่อปี 2565 นั้น เราทุกคนต่างได้รับผลกระทบไปไม่มากก็น้อย วันนี้จะมาแนะนำวิธีการตรวจสอบรายชื่อวารสารว่ามีอยู่ในฐานข้อมูล WOS หรือไม่ ทำอย่างไร ไปดูกันค่ะ

1. เข้าไปที่ https://mjl.clarivate.com/home หรือค้นคำว่า Web of Science Master Journal List ใน Google ได้เลย

2. สืบค้นวารสารที่เราต้องการ โดยค้นได้จาก ชื่อวารสาร ISSN หรือลองค้นเป็น Keyword ก็ได้เช่นกัน ตัวอย่างในภาพลองค้นหาวารสารชื่อ Cannabis and Cannabinoid research

3. จากภาพในข้อ 2. จะเห็นว่าวารสาร Cannabis and Cannabinoid research เป็นวารสารที่ถูกทำ index ในฐานข้อมูล WOS โดยในหน้าผลการค้นหาจะบอกข้อมูลคร่าว ๆ ได้แก่ ข้อมูลสำนักพิมพ์ ISSN รวมถึงข้อมูลที่แจ้งว่าถูก index อยู่ใน Collection ใดบ้าง หากต้องการข้อมูลมากกว่านี้คลิกที่ปุ่ม View profile page

4. เมื่อคลิกที่ View profile page จะต้องทำการลงทะเบียนเข้าใช้งานก่อน ในส่วนนี้จะสามารถสมัครได้ฟรีโดยใช้อีเมลของเราโดยตรงในการ Register ก็ได้หรือเข้าใช้งานผ่านช่องทางอื่นๆ ยกตัวอย่าง Facebook, Gmail เป็นต้น

5.เมื่อสมัครเรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถดูข้อมูลของวารสารที่มากขึ้นได้
ส่วนแรกสุดจะบอกข้อมูลทั่วไปของวารสาร

เมื่อขยับลงมาด้านล่างจะมีบอกว่าวารสารนี้ถูก Index อยู่ใน Collection ใดบ้าง ถูกจัดอยู่ใน Category ไหน ในบางวารสารสามารถอยู่ได้หลาย Category และเราสามารถคลิกเพื่อดูว่ามีวารสารไหนบ้างที่อยู่ใน Category เดียวกันในแต่ละ Collection โดยคลิกที่คำว่า Find Similar Journals ของแต่ละ Collection ได้เลย
*หมายเหตุ ปุ่มค้นหา Search a topic within this journal อันนี้ใช้ไม่ได้นะคะ ไม่ฟรี

ขยับลงมาอีกนิด เราจะเจอว่าในส่วนนี้จะมีการบอกค่าที่ใช้วัดคุณภาพวารสารวิชาการต่าง ๆ เอาไว้ เช่น ค่า Impact Factor (IF) แต่เนื่องจากเราไม่ได้บอกรับฐานข้อมูล WOS หรือ JCR ไว้ ทำให้เราดูค่าต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้
แต่โดยปกติวารสารที่มีค่า IF ไม่ว่าจะทั้งจาก WOS หรือ Scopus หรือจาก Scimago จะมีการแจ้งให้ทราบที่เว็บไซต์หลักของวารสารอยู่แล้ว เพราะข้อมูลเหล่านี้เป็นเหมือนเครื่องการันตีถึงคุณภาพงานของวารสาร จึงทำให้มีข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นค่อนข้างเด่นชัดค่ะ อย่างวารสารที่ยกตัวอย่างมา เมื่อไปตรวจสอบที่เว็บไซต์ของวารสารจะเห็นข้อมูลดังภาพค่ะ

ด้านล่างก็จะมีข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ มาให้ สามารถไปลองใช้งานกันดูแล้วหากมีข้อมูลอื่นใดที่เป็นประโยชน์สามารถมาร่วมแชร์แลกเปลี่ยนกันได้เลยค่ะ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่ผ่านเข้ามาอ่าน แม้จะไม่สามารถเข้าใช้งานได้สมบูรณ์เหมือนการจ่ายเงิน แต่ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยให้ทุกท่านแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ้างแม้เพียงเล็กน้อยก็ยินดีมากค่ะ ^^